วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

ประวัติของโครงการ


ประวัติของโครงการ
            เมื่อวนที่ 21  มกราคม  2545 เวลา 12.20 น.  สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน บริเวณ ดอยดำลุ่มน้ำแม่หาด เพื่อการวิจัยพื้นที่โครงการ บ้านเล็กในป่าใหญ่ขึ้นโดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ แม่ทับที่ภาค 3 ข้าราชการสังกัดกรมป่าไม้ และสังกัดอื่นๆเฝ้ารับเสด็จ พลตรีนคร ศรีเพ็ชรพันธ์ ผู้บัญชาการกองกำลังผาเมือง กราบบังคมทูลรายงานสถาณการชายแดนไทย-พม่า
            นายปฏิสันถาร โรจนกุล หัวหน้าหน่วยจัดการต้นน้ำแม่หาดกราบบังคมทูลรายงานเกี่ยวกับ สภาพพื้นที่ และการจัดการต้นน้ำของหน่วยงาน นายเกียรติศักดิ์  สุขวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานกิจกรรมพิเศษกรมชลปทาน กราบทูลถวายรายงานเกี่ยวกับการจัดหาน้ำ

          http://cri.soonfhuk.com/doidum/files/upload/03.jpg

ภาพที่ 1

            สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีกระแสพระราชดำรัสเกี่ยวกับโครงการ บ้านเล็กในป่าใหญ่ที่จะจัดตั้งขึ้นความว่า พระองค์เป็นห่วงสถานการชายแดนไทย - พม่า บริเวณดอยดำที่ยังไม่มีคนเข้าไปอยู่อาศัย ทำให้มีความสะดวกต่อการเข้าออกของคนต่างด้าว และเป็นเส้นทางลำเลียงยาเสพติด รวมทั้งสิ่งที่ผิดกฎหมายต่างๆซึ่งมีผลกระทบต่อความมั่นคงและความสงบสุขของประชาชน จึงมีพระราชดำริที่จะจัดตั้งหมู่บ้านในที่ชื่อ โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ขึ้น โดยให้ชาวบ้านในโครงการ มีหน้าที่ดูแลป่าและบริเวณนี้และไกล้เคียง พร้อมทั้งเป็นเส้นตะเข็บชายแดนด้วย  
นายสหัส บุญญาวิวัฒน์ผู้ช่วยเลขาธิการพระบรมราชวังฯ ฝ่ายกิจกรรมพิเศษได้ถวายรายงานขออนุญาติใช้พื้นที่ต่ออธิบดีกรมป่าไม้ แต่พื้นที่ดังกล่าวอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง จะต้องดำเนินการในลักษณะโครงการการทดลองทางวิชาการ อธิบดีกรมป่าไม้จึงอนุมัติใช้พื้นที่ดังกล่าวตาม มาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ
             วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2545 อธิบดีกรมป่าไม้ได้เรียกประชุมเจ้าหน้าที่ๆเกี่ยวข้อง เพื่อการเร่งรัดการดำเนินการโครงการ บ้านเล็กในป่าใหญ่ดอยดำ ตามพระราชดำริ โดยฝ่ายสำนักกรมป่าไม้เขตเชียงใหม่ (สำนักบริหารจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ในปัจจุบัน) ผู้อำนวยการโครงการขออนุญาตใช้พื้นที่ต่อสำนักงานป่าไม้เขตเชียงใหม่ ได้มีหนังสือจากสำนักงานเขตเชียงใหม่ ด่วนที่สุด ที่ กษ.0723.7/ 1893 ลงวันที่ 17 มิถุนายน 2545 ให้ใช้พื้นที่ลุ่มน้ำแม่หาดทั้งหมด 16,850 ไร่ เป็นพื้นที่ดำเนินการโครงการฯ พร้อมทั้งยังขออนุญาตแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานและต่อมากรมป่าไม้ออกคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 1961/2545 ลงวันที่ 23 กันยายน 2545 เรื่องแต่งตั้งคณะทำงานโครงการให้คนอยู่กับป่าอย่างยั่งยืนในลักษณะ โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ ตามพระราชดำริ

พระบาทสมเด็จพราะเจ้าอยู่หัว มีรับสั่งกับผู้เข้าเฝ้าฯ ราวร้อยคน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ว่าโครงการหลวงเกิดขึ้นเพราะท่านไปเที่ยว

                ราวปีพุทธศักราช 2507 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงใช้เวลาในช่วงฤดูหนาว เสด็จแปรพระราชฐานไป จังหวัดเชียงใหม่ ทอดพระเนตรชีวิตของชาวบ้านบนดอยชาวไทยภูเขาในภาคเหนือประกอบอาชีพปลูกข้าวเพื่อบริโภคควบคู่กับการปลูกฝิ่น ซึ่งสร้างปัญหาการทำลายป่าไม้จากการทำไร่เลื่อนลอย และที่สำคัญคือปัญหายาเสพติดที่แพร่หลายจากชุมชนชนบทไปสู่เมืองและกลายเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศในยุคนั้น จากพระราชดำริที่ว่า ถ้าจะให้ชาวเขาเลิกปลูกฝิ่นก็ต้องหาพืชอื่นที่ขายได้ราคาดีกว่า และมีความเหมาะสมจะปลูกในที่สูง มาให้ชาวเขาปลูกทดแทนจึงเป็นที่มาในการริเริ่ม โครงการหลวงพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขาในปี 2512 โดยทรงมอบหมายให้ หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นประธานอำนวยการโครงการหลวงฯ การดำเนินการในระยะแรกของโครงการหลวงฯ นั้นได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งให้ความช่วยเหลือในเรื่องการศึกษาวิจัยหาพืชที่เหมาะสมต่อสภาพอากาศในพื้นที่ นอกจากนั้น ยังมีหน่วยงานราชการอื่นๆ อีกหลายแห่ง ที่เต็มใจเข้ามาร่วมถวายงานอย่างไม่ย่อท้อ รวมถึงความร่วมมือจากต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ที่ให้เงินสนับสนุนโครงการหลวงฯ ตั้งแต่ปี 2516 จนถึงปัจจุบัน

โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 1 - อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
จากดำเนินการของโครงการหลวงฯ ในการให้ความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับการเพาะปลูกพืชเมืองหนาวประสบความสำเร็จราษฎรชาวไทยภูเขาหันมาปลูกพืชทดแทนฝิ่นมากขึ้น จึงทำให้เกิดความต้องการตลาดรับซื้อผลผลิต ผัก ผลไม้สดให้ทันเวลาการเก็บเกี่ยว ดังนั้น เพื่อตัดปัญหาการโก่งราคาผลผลิตจากพ่อค้าคนกลาง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดตั้งเป็น กลุ่มสหกรณ์ชาวเขา เพื่อรับซื้อผลผลิตสดจากราษฎรโดยตรง และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ ศาสตราจารย์อมร ภูมิรัตน ผู้อำนวยการสถาบันค้นคว้า และพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในขณะนั้น เป็นผู้ดำเนินการจัดตั้งโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปแห่งแรก ขึ้นที่หมู่บ้านบ้านยาง ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เริ่มดำเนินการเมื่อ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 เป็นต้นมา
สาเหตุที่เลือกพื้นที่นี้สร้างโรงงานขึ้นก็เนื่องจากทำเลที่ตั้งอยู่ในศูนย์กลางของพื้นที่ ที่ได้รับการส่งเสริมจากโครงการหลวงในจังหวัดเชียงใหม่ โรงงานฯได้สร้างขึ้นด้วยทุนแรกเริ่มเก้าแสนกว่าบาท (ประมาณ 36,000 เหรียญสหรัฐ) ซึ่งส่วนใหญ่มาจากทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และจากการช่วยเหลือบางส่วนจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ มีการติดตั้งเครื่องจักรผลิตอาหารกระป๋องอย่างสมบูรณ์แบบ ตั้งแต่ระบบการเตรียมวัตถุดิบ การฆ่าเชื้อ และระบบไอน้ำ* (*องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติได้เข้ามาให้ความช่วยเหลือในระยะเริ่มแรกเท่านั้น) จากนั้นการดำเนินงานได้เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ภายใต้การบริหารของ ศาสตราจารย์ อมร ภูมิรัตน์ ควบคู่ไปกับการขยายตัวของโครงการหลวง ในปีต่อ ๆ มา โรงงานฯ ไม่เพียงแต่รับซื้อผลิตผลจากเกษตรกรชาวเขาที่ร่วมอยู่ในโครงการหลวง แต่ยังขยายการส่งเสริมการปลูกพืชผักไปยังเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่รอบ ๆ ใกล้เคียงอีกด้วย
โดยการจ้างเกษตรกรรายเล็กทำการเกษตร ซึ่งได้รับความสำเร็จเป็นอย่างดี เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรและยังเป็นการช่วยป้อนวัตถุดิบให้กับโรงงานฯ เพื่อให้เพียงพอกับปริมาณการผลิตอีกด้วย ปัจจุบันการส่งเสริมการปลูกผักผลไม้ได้กลายเป็นงานหลักของโรงงานฯ ขณะเดียวกับที่วัตถุประสงค์ของโรงงานฯ ได้ขยายจากการช่วยเหลือชาวเขาในการพัฒนาการทำไร่ขนาดเล็กไปสู่การแนะนำการปลูกพืชในระบบเกษตรอุตสาหกรรมซึ่งเป็นวิธีหนึ่งในการพัฒนาชนบท โรงงานฯที่อำเภอฝางนี้ ครอบคลุมการปฏิบัติงานในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ของโรงงานฯ มี ลำไยในน้ำเชื่อม, ลิ้นจี่ในน้ำเชื่อม, มะเขือเทศอบแห้ง, สตรอเบอร์รี่อบแห้ง, น้ำดื่มดอยคำ
ต่อมาในช่วงวันที่ 8 ตุลาคม 2549 ได้เกิดเหตุการณ์น้ำป่าไหลถล่ม เข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร ส่งผลให้เกิดความเสียหายในพื้นที่บ้านยาง ตำบลแม่งอน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ เหตุการณ์ครั้งนั้นนอกจากสร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือนพื้นที่สวนไร่นาของชาวบ้านแล้ว ยังทำให้โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปของดอยคำได้รับความเสียหายไปด้วย การนี้สำนักงานทรัพย์สินสวนพระมหากษัตริย์จึงมีโครงการ พลิกฟื้นโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปให้กลับมาเหมือนเดิม และยังเพิ่มเติมการ ก่อสร้างพิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง) บนพื้นที่เดิม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนผู้สนใจทั่วไป นักเรียน นิสิต นักศึกษา รวมถึงนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ ได้ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีต่อพสกนิกรของพระองค์ ทั้งนี้พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง) จะเปิดให้บริการในเดือนมกราคม 2552

โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 2 - อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
http://www.doikham.co.th/images/template/pic_aboutfactory2.jpg
ภาพที่ 2

หลังจากการก่อตั้งโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปแห่งแรกที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่แล้ว ในระยะเวลาใกล้เคียงกันได้มีการสร้างโรงงานอีกแห่งขึ้นในพื้นที่การดำเนินงานของโครงการหลวงในจังหวัดเชียงราย โดยคงวัตถุประสงค์เดียวกับที่จัดตั้งโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 1 ซึ่งพื้นที่ที่ได้รับการพิจารณาเลือกสร้างโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 2 ตั้งอยู่ที่ทางหลวงหมายเลข 1 ที่หมู่บ้านป่าห้า ตำบลป่าซาง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2516 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนประเดิมจำนวน 100,000 บาท เป็นทุนหมุนเวียน โรงงานที่ 2 นี้ได้รับการติดตั้งเครื่องจักรระบบเดียวกับที่อำเภอฝาง โดยรับซื้อและแปรรูปผลิตผลการเกษตรที่ได้จากชาวเขาในพื้นที่เดียวกันนี้* (*โรงงานที่แม่จันได้รับความช่วยเหลือบางส่วนจากโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนและออสเตรเลีย) เกษตรกรชาวเขาเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากโครงการหลวงให้ปลูกผักและผลไม้ของโครงการ เพื่อเป็นการช่วยรักษาระดับราคาของพืชผล ซึ่งแต่ก่อนถูกกำหนดโดยพ่อค้าคนกลางจากในเมืองที่อำเภอแม่จันนอกจากทรงพระราชทานโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปนี้แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานสำนักงานสหกรณ์การเกษตร ศูนย์โภชนาการเด็ก และสถานีอนามัย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาชุมชนแบบวงกว้าง ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ โรงงานฯที่อำเภอแม่จันนี้ดำเนินงานในลักษณะเดียวกันกับโรงงานฯที่อำเภอฝาง การดำเนินงานครอบคลุมพื้นที่ในอำเภอแม่จัน อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงแสน และอำเภอเมือง ของจังหวัดเชียงราย สินค้าแปรรูปในปัจจุบัน ได้แก่ น้ำผลไม้พร้อมดื่ม, ผลไม้แช่แข็ง, แยมผลไม้, น้ำผลไม้เข้มข้น เป็นต้น

โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 3 - อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร

http://www.doikham.co.th/images/template/pic_aboutfactory33.jpg

ภาพที่ 3

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2523 ระหว่างแปรพระราชฐานไปยัง พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเยี่ยมราษฎรในพื้นที่หมู่บ้านนางอย โพนปลาไหล กิ่งอำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร ทอดพระเนตร ความเป็นอยู่ที่แร้นแค้นของราษฏร และต้องการความช่วยเหลืออย่างมาก อีกทั้งปัญหาภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์ในช่วงนั้น จึงมีพระราชดำริให้ปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของราษฏรในเขตพื้นที่และอำเภอใกล้เคียง โดยส่งเสริมความรู้ และให้กู้ยืมเงินทุนซื้อเมล็ดพันธุ์กับเกษตรกร เพื่อเพาะปลูกมะเขือเทศ ซึ่งเป็นพืชชนิดเดียวที่เหมาะสมและสามารถขึ้นได้ดีในพื้นที่ และพัฒนาคุณภาพชีวิต สังคมให้ดีขึ้น ศาสตราจารย์อมร ภูมิรัตน รับใส่เกล้าฯ และขอพระราชทานเฝ้าฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เพื่อดำเนินการตามพระราชดำริ โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 3 ที่กิ่งอำเภอ จังหวัดสกลนคร จึงเกิดขึ้น (ปัจจุบัน ปรับเป็นอำเภอเต่างอย) เพื่อช่วยเหลือราษฎรในแบบเดียวกัน การดำเนินงานของโรงงานฯ นี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างรายได้และยกระดับความเป็นอยู่ของชาวบ้านให้ดีขึ้นรวมถึงสร้างช่องทางเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยประชาชนในท้องถิ่น


โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 4 - อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์

http://www.doikham.co.th/images/template/pic_aboutfactory4.jpg
ภาพที่  4

ระหว่างปี พ.ศ. 2521 ถึง ปี พ.ศ. 2524 ได้มีภัยคุกคามจากขบวนการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศบริเวณแนวชายแดนไทย - กัมพูชา โดยความช่วยเหลือจากกองทัพคอมมิวนิสต์เขมร และ เวียตนาม ทำให้มีทหารไทยล้มตายและบาดเจ็บจากการต่อสู้เพื่อต่อต้านการแทรกแซงของคอมมิวนิสต์นี้ ในหลายพื้นที่ตามแนวชายแดน อำเภอละหานทรายในจังหวัดบุรีรัมย์เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ มีการต่อสู้กันอย่างหนัก ในหลายครั้งที่มีการต่อสู้ ในเขตบ้านโนนดินแดง ชาวบ้านในพื้นที่จำเป็นต้องอพยพลี้ภัยไปอยู่ในค่ายพักชั่วคราว และในที่ที่ปลอดภัยรอบๆหมู่บ้านโนนดินแดง สถานการณ์เช่นนี้ทำให้ชาวบ้านและผู้อพยพจากภัยสงความมีความเป็นอยู่ที่แร้นแค้น ด้วยทรงมีความห่วงใยต่อปัญหาในพื้นที่นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดำรัสให้รัฐบาลจัดตั้งโครงการพัฒนาครั้งใหญ่ ครอบคลุมถึง 40 หมู่บ้านในเขตพื้นที่นั้น ซึ่งรวมหมู่บ้านที่มีอยู่แล้ว 26 หมู่บ้าน และอีก 14 หมู่บ้านที่ชาวบ้านอพยพไปจัดตั้งใหม่ โดยจัดหาที่ดินทำกินให้แก่ชาวบ้าน จัดตั้งหมู่บ้านใหม่ พัฒนาแหล่งน้ำ และพัฒนาสังคม นอกจากจะเข้าร่วมอยู่ในโครงการใหญ่นี้แล้ว ศาสตราจารย์ อมร ภูมิรัตน์ ยังได้ดำเนินการตามพระราชดำริในพื้นที่นี้ แบบเดียวกับที่ปฏิบัติที่อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร โรงงานแห่งที่ 4 ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นและเริ่มดำเนินงานได้ในปี พ.ศ. 2526 โดยรับซื้อและแปรรูปผลิตผลการเกษตรจากเกษตรกรที่ร่วมอยู่ในโครงการพืชผลเมืองหนาวจากภาคเหนือ เป็นผลผลิตใหม่สำหรับเมืองไทยในสมัยนั้น หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี จึงทรงคิดตราสัญลักษณ์ ดอยคำขึ้นใช้กับผลิตผลทุกชนิดของโครงการหลวงฯ รวมทั้งให้ความเชื่อถือว่า ตราดอยคำเป็นสินค้าที่มีคุณภาพด้วยการคัดเกรด และเป็นสินค้าที่สด สะอาด ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคในปี 2535 โครงการหลวงได้เปลี่ยนสถานภาพจดทะเบียนเป็น มูลนิธิโครงการหลวงเพื่อให้เป็นองค์กรนิติบุคคล โดยมีหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการ ดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์ และจัดตั้ง บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด เป็นนิติบุคคล ในปี 2537 มีสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์และมูลนิธิโครงการหลวงเป็นผู้ถือหุ้น เปิดดำเนินกิจการในเชิงธุรกิจ เพื่อรับซื้อผลผลิตทางการเกษตร จากมูลนิธิฯ และเกษตรกรในพื้นที่ ด้วยราคาที่เป็นธรรม นำมาผลิต และ จัดจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปภายใต้ตราสัญลักษณ์ ดอยคำในช่วงแรกนี้ บริษัทฯ เป็นผู้ริเริ่มและบุกเบิกตลาดข้าวโพดฝักอ่อนของไทยในต่างประเทศ และรายได้จากการส่งออกผักผลไม้แปรรูปถือเป็นรายได้ที่สำคัญของบริษัทฯ

http://www.doikham.co.th/images/template/pic_about.jpg
ภาพที่ 5

ต่อมาในปี 2543 บริษัทฯ ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา จึงส่งผลให้ต้องปิดกิจการโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 4 จังหวัดบุรีรัมย์ ด้วยเป็นแหล่งที่มีพืชเพาะปลูกเข้าโรงงานน้อย และมีการผลิตน้อยที่สุด ปัจจุบันจึงมีโรงงานหลวงฯ ดำเนินกิจการเพียง 3 แห่ง เท่านั้นปี 2545 บริษัทฯ ปรับปรุงภาพลักษณ์ของสินค้าใหม่ปรับเปลี่ยนตราสินค้าให้ทันสมัย โดยคงสัญลักษณ์พระราชทานไว้ด้านบนตัวอักษรดอยคำ นอกจากนี้ มีการปรับปรุงเครื่องจักรแบบบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัยมากขึ้น และขยายตลาดภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้คนไทยได้บริโภคสินค้าที่มีคุณภาพ และยึดมั่นใน พระราชปณิธานที่ต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทยให้ดีขึ้น
 ที่มา www.doikham.co.th